โครงการวิจัย TEEWA |
เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่กำเนิดซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีอัตรารอดสูงเพิ่มมากขึ้นและปัจจุบันเด็กเหล่านี้ได้เข้าสู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามมีหลายๆ รายงานพบว่าความล้มเหลวในการรักษาและอัตราการเสียชีวิตในวัยรุ่นมีสูงขึ้น
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์โดยรวมของการวิจัยทิว่าคือเพื่อประเมินสถานการณ์และความต้องการของเด็กที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจากมารดา ซึ่งปัจจุบันได้เข้าสู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ต่อการรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิตในระดับประเทศไทย วิธีการวิจัย ข้อมูลที่รวบรวมได้ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเป็นคู่ (ผู้ดูแล-เด็ก) โดยใช้แบบสอบถามให้เด็กวัยรุ่น (อายุ 12-19 ปี) ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีและได้รับยาต้านไวรัสกรอกแบบสอบถามด้วยตัวเอง และการสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ดูแลของเด็กซึ่งจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของวัยรุ่นที่มีความซับซ้อนหรือข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เด็กที่จะเข้าร่วมในโครงการวิจัยเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในครอบครัวตัวเองและเด็กรวมทั้งเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ กลุ่มอ้างอิงจะประกอบไปด้วยเด็กวัยรุ่นที่ไม่ติดเชื้อเอช ไอ วีที่มีอายุเท่ากัน เพศเดียวกัน และอาศัยอยู่พื้นที่เดียวกัน โดยทำการสุ่มคัดเลือกจากฐานข้อมูลของสถานีอนามัยในแต่ละพื้นที่นั้นๆ สำหรับกลุ่มอ้างอิงของเด็กติดเชื้อที่อาศัยอยู่ในบ้านสงเคราะห์คือเด็กอื่นๆ ในสถานสงเคราะห์เดียวกัน อายุ 12-19 ปี ที่ไม่ติดเชื้อเอช ไอ วี ผลการวิจัยในเบื้องต้น
เมื่อนับถึงวันที่ 1 กันยายน 2554 มีผู้ดูแลและเด็กวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอช ไอ วีจำนวน 462 คู่ ยินยอมเข้าร่วมในโครงการวิจัย ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีเพียงร้อยละ 31 ที่เป็นพ่อหรือแม่ ส่วนใหญ่แล้วแล้วเด็กได้รับการดูแลจากปู่-ย่า/ตา-ยายของเด็ก โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก SIDACTION Actualité scientifique (ข่าววิทยาศาสตร์): รับมือกับเอชไอวีในวัยรุ่น |