โครงการวิจัย LIWA (การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับยาต้านไวรัส) |
หลายๆ ภูมิภาคได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม ตลอดจนผลกระทบต่อระบบการดูแลสุขภาพ ในเดือนตุลาคม 2548 โครงการการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้รวมเข้าด้วยกันกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย จึงทำโรคเอดส์เปลี่ยนจากโรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตกลายเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง โครงการวิจัยลิว่ามีรูปแบบการวิจัยในช่วงเริ่มต้นคือเพื่อวิจัยผลกระทบของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่มีผลต่อสภาพชีวิตของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีและผลกระทบในวงกว้างคือต่อสภาพครอบครัว และชุมชนของผู้ติดเชื้อ การวิจัยประกอบด้วยการสำรวจจากประวัติเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเชิงปริมาณ 2 ครั้ง: ครั้งที่ 1 คือการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (การสัมภาษณ์เสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2550) และได้ดำเนินการสัมภาษณ์ครั้งที่ 2ในเดือนมิถุนายน 2551 ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรทั่วไป (กลุ่มควบคุม) ที่ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน เพศเดียวกัน และอายุเท่ากันกับผู้ที่ติดเชื้อเอช ไอ วีที่ได้สัมภาษณ์มาแล้ว
ผลการวิจัยในเบื้องต้น
ทางโครงการได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยจำนวน 513 ราย และประชากรทั่วไปที่อยู่ในกลุ่มควบคุมจำนวน 500 ราย • จากการวิเคราะห์โดยพื้นฐานทางเพศพบว่าผู้หญิงมีการเข้าถึงการตรวจหาการติดเชื้อเอช ไอ วีและการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้เร็วกว่า และมากกว่าผู้ชาย (Le Coeur S et al. Soc Sci & Med, 2009, 69 (6): 846-853) • ทางโครงการได้วิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอช ไอ วีด้วยว่า การที่ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้นสามารถทำงานได้ ได้กลับมาดูแลครอบครัวและปฏิบัติตามหน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดา มารดาได้ตามที่สังคมไทยคาดหมาย (Lelièvre E, et al. Ageing & Society. May 2011, pp 1-25) • ทั้ง ๆ ที่ผู้ติดเชื้อมีความกลัวเรื่องการตีตรา การวิจัยได้ระบุว่าผู้ติดเชื้อได้เปิดเผยสถานะการติดเชื้อแก่คู่ครอง และญาติพี่น้องในอัตราสูง (CEPED Working Paper no 16, Sept 2011) โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยด้านเอดส์และไวรัสตับอักเสบ (ANRS 12141) รายงานด้านเศรษฐกิจ
หนึ่งในการวิจัยแรกๆเกี่ยวกับความคุ้มทุนของการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสในประเทศไทยเป็นการวิจัยที่ดำเนินการวิจัยโดยธนาคารโลกซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 เป็นการเปรียบเทียบกับความคุ้มทุนของการจัดหายาของรัฐบาลเพื่อการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะสูตรแรกเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยสูตรแรกและสูตรที่สอง ซึ่งรายงานนี้ได้สนับสนุนการจัดหายาต้านไวรัสสูตรแรกให้ในขณะที่ยังเป็นประเด็นคำถามเกี่ยวกับความคุ้มทุนต่อการรวมสูตรยาที่สองเข้าไปด้วย ในเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ. 2550 ผู้เขียนรายงานนี้ได้ประเมินการประมาณการณ์ใหม่ภายใต้ข้อสันนิษฐานว่าราคายาต้านไวรัสสูตรที่สองลดลงร้อยละ 90 และได้สรุปว่าการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตรแรกและสูตรที่สองนั้นเป็นการรักษาที่คุ้มทุนและยั่งยืนสำหรับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม การสร้างรูปแบบจำลองนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของประชากรและประสิทธิภาพของข้อมูลซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากผลการวิจัยจากการติดตามในพื้นที่ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย นอกเหนือจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือราคายาต้านไวรัส เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ผลิตยาต้านไวรัสสูตรที่สองเป็นสูตรยาสามัญด้วยราคาต่ำลงมาก จุดมุ่งหมายของการวิจัยคือเพื่อดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตรแรกเปรียบเทียบกับยาต้านไวรัสสูตรแรกและยาสูตรที่สองซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานของค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและประสิทธิภาพของข้อมูลในการติดตามในผู้ใหญ่ที่กำลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้การรักษาของโครงการวิจัย PHPT-Oxfam ในโรงพยาบาลชุมชนในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งทางโครงการจะทำการประเมินคุณภาพชีวิตเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ต้นทุน อรรถประโยชน์เกี่ยวกับจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิต |