การเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์
บทความการวิจัยหัวข้อเรือ่ง "Appointment reminders to increase uptake of HIV retesting by at-risk individuals: a randomized controlled study in Thailand" ได้เผยแพร่ทางออนไลน์. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ https://doi.org/10.1016/j.ebiom.2019.11.002 |
Eve Lubin ที่ปรึกษาด้านความร่วมมือและการดำเนินการทางวัฒนธรรม ("COCAC") คนใหม่ พร้อมด้วย Guillaume Da เจ้าหน้าที่ฝ่ายความร่วมมือวิทยาศาสตร์และการอุดมศึกษา (the Attaché for scientific and higher education cooperation) และ Lisa Louveton ผู้ประสานงานโครงการ จากสถานทูตฝรั่งเศส ได้เข้าเยี่ยมชมคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2563 และได้เข้าพบ ศ.ดร.สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของโครงการ PHPT และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการความร่วมมือระหว่างคณะเทคนิคการแพทย์-โครงการ PHPT ได้นำเสนอการทำงาน ทั้งนี้ทางคณะได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านเภสัชวิทยา (ภายใต้การดูแลโดยTim Cressey) และศูนย์บริการของโครงการนับหนึ่ง (ภายใต้การดูแลโดย Nicolas Salvadori)
การประชุมโครงการวิจัย “iTAP-2 Study Co-investigators” ได้จัดขึ้นในวันจันทร์ ที่ 21 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดิ เอ็ม เพลส จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีทีมผู้วิจัยร่วมจากประเทศไทยเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว
ผศ.ดร.ทนพญ.สาวิตรี นะงอลา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ยื่นเสนอโครงการเรื่อง “User-friendly and safe COVID-19 testing facilities in Thailand” ให้แก่หน่วยงาน Agence Universitaire de la Francophonie (AUF) ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนโครงการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ระหว่างประเทศ และโครงการนี้ได้รับคัดเลือกจากจำนวนโครงการที่ยื่นเสนอมาขอรับทุนมากกว่า 1,500 โครงการ โดยโครงการนี้จะได้รับทุนเป็นเวลา 3 เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน
โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (IRD) ของประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ ผศ.ดร.ทนพญ.สาวิตรี นะงอลา อ.ดร.ทนพ. เอกพจน์ พรหมพันธ์ อ.ดร.ทนพ. จิรพัฒน์ คล้อยปาน และ ทนพญ.ทิพวรรณ นนทวงศ์ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมตั้งแต่วันพุธที่ 17 ถึงวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 ณ สถานที่วิจัยเพื่อเก็บสิ่งส่งตรวจ COVID-19 ในบริเวณโครงการจริงใจ มาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่ ห้องปฏิบัติการโครงการพี เอช พี ที (หนองหอย) และสำนักงานโครงการพี เอช พี ที (ถนนแก้วนวรัฐ) เกี่ยวกับวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจและการจัดส่งสิ่งส่งตรวจที่ได้เก็บบริเวณโพรงจมูกอย่างปลอดภัย เทคนิคการตรวจหาเชื้อไวรัส และการพัฒนาเครื่องมือด้านไอที สำหรับโครงการตรวจการติดเชื้อ COVID-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ คุณณัฏฐฎา ป้านประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ (Bioengineering) มหาวิทยาลัย Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาเยี่ยมชมโครงการพี เอช พี ทีในวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563 เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการตรวจหาการดื้อยาของเชื้อไวรัสเอช ไอ วี และความเป็นไปได้ในการวินิจฉัยการติดเชื้ออื่นๆ
Dr. Taraneh Shojaei ที่ปรึกษาด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประเทศไทย ได้มาเยี่ยมชมโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยของโครงการ PHPT ในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563
Dr. Taraneh ได้เข้าพบ ศ.ดร.สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัย และคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยของโครงการ PHPT และพิจารณาทบทวนสถานะของโครงการ “การให้บริการตรวจการติดเชื้อเอช ไอ วีและการปรึกษา ณ หน่วยบริการที่เป็นมิตร ในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย” (โครงการนับหนึ่ง-2) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Expertise France-Initiative 5% นอกจากนี้ Dr. Taraneh ได้เข้าเยี่ยมชม MAP Foundation เพื่อพบคุณ Hark Murng และได้ปรึกษาหารือร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ด้านสุขภาพที่พบจากประชากรแรงงานข้ามชาติ Gonzgaue Jourdain และประอรสุดา ศุกระกาญจนะ, ไอ อาร์ ดี - พี เอช พี ที U174 ได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ DRIVE (ANRS12299 และ ANRS12353) ซึ่งดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัย Hai Phong Pharmacy and Medicine เมืองไฮฟอง ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 10 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือดดำในเมืองไฮฟอง
Prof. Pan-Chyr Yang ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และ Prof. Jean-Marc Egly สมาชิกของคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (IRD) ประเทศฝรั่งเศส และเป็นศาสตราจารย์รับเชิญ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ได้เข้าเยี่ยมชมสำนักงานโครงการ PHPT เมื่อวันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2562 ทั้งสองท่านได้เข้าพบนักวิจัยและคณะทำงานด้านการวิจัยทางคลินิกของ PHPT และได้เยี่ยมชมคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเข้าพบ ศาสตราจารย์ ดร. สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะเพื่อร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่างคณะเทคนิคการแพทย์และมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน
ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส
199/42 ถนนช้างคลาน อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50100 ประเทศไทย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยการวิจัยนานาชาติที่ 174/PHPT ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Research Institute for Sustainable Development: IRD) ประเทศฝรั่งเศส ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการที่สำคัญเกี่ยวกับ “การกำจัดเชื้อไวรัสเอช ไอ วีและไวรัสตับอักเสบเรื้อรังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เราเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใด?” (Elimination of Human Immunodeficiency Virus and Chronic Viral Hepatitis in South–East Asia: How close are we?) และเป็นโอกาสเดียวกันที่จะได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 75 ปีของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศฝรั่งเศส
โรคติดเชื้อต่างๆ ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยในทวีปเอเชีย เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ประการหนึ่งสำหรับปีพ.ศ. 2573 คือการยุติการระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ และการต่อสู้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบ องค์การอนามัยโลกได้นำเสนอเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลในการประกาศการกำจัดการถ่ายทอดเชื้อเอช ไอ วีและไวรัสตับอักเสบ ถึงแม้ว่าทวีปเอเชียกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่ออย่างรวดเร็ว (เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง...) โรคติดเชื้อต่างๆ หลายโรคยังคงทำให้เกิดความกดดันมากมายต่อประชากรและระบบสุขภาพ แม้ว่ามีเครื่องมือในการวินิจฉัยและการป้องกันและการรักษาอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือเหล่านั้นก็ยังไม่ได้นำมาใช้ให้เหมาะสมที่สุด และยังคงต้องใช้กลวิธีเพื่อค้นหาผู้ที่สามารถได้รับประโยชน์จากการรักษาเหล่านี้ ถึงแม้ว่ามีเทคนิคใหม่ (ได้แก่ rapid tests, เครื่อง GeneXpert) การนำโครงการการคัดกรองไปปฎิบัติยังคงทำได้ยาก ดังนั้นกลวิธี “ตรวจเร็วและรักษาทันที (Test and Treat)” ได้เกิดขึ้นและทำให้มีความหวังในการกำจัดโรคติดเชื้อเรื้อรังบางโรคในปัจจุบัน เครื่องมือที่ได้รับการรับรองใหม่เช่น การรับประทานยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเพื่อการป้องกัน (PrEP) อย่างไรก็ตามผู้ที่ควรได้ใช้ยังคงเข้าไม่ถึงการรักษาเพื่อการป้องกันนี้มากนัก และสถานการณ์อาจแตกต่างกันไปสำหรับวิธีการรักษาการติดเชื้อแต่ละชนิด ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบซี อย่างไรก็ตามก็มียาซึ่งสามารถรักษาการติดเชื้อให้หายขาดได้ สำหรับไวรัสตับอักเสบบี พบว่ามีวัคซีนที่มีประสิทธิผลในการป้องกัน แต่ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อให้หายขาดได้ และสำหรับการติดเชื้อเอช ไอ วี นั้นไม่มีวัคซีนในการป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาก็สามารถทำให้ควบคุมการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นในการปรับปรุงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ราคายา ความจำเป็นในการจัดทำนโยบายด้านสุขภาพให้เหมาะสม และการยุติการเลือกปฎิบัติต่อผู้ติดเชื้อ โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยพี เอช พี ที มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลวิธีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการกำจัดโรคติดเชื้อเหล่านี้ การศึกษาวิจัยในปัจจุบันได้มุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาสู่ทารก (โครงการวิจัย iTAP และโครงการวิจัย iTAP2) และการวินิจฉัยการติดเชื้อเอช ไอ วีโดยเร็วในเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (www.napneung.net) วัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการนี้ได้แก่:
การประชุมสัมมนาจะครอบคลุมหัวข้อการประชุมต่างๆ ในระยะเวลา 2 วันดังนี้:
การประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Research Institute for Sustainable Development: IRD) ประเทศฝรั่งเศส สถาบันวิจัยด้านเอดส์และไวรัสตับอักเสบ (National Agency for Research on AIDS and Viral Hepatitis: ANRS) ประเทศฝรั่งเศส และบริษัท Gilead Sciences การประชุมสัมมนาจะมีผู้เข้าร่วมเป็นนักวิจัย และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการทางด้านสุขภาพ แพทย์จากภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย กัมพูชา ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า และเวียดนาม พร้อมทั้งตัวแทนของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคต่างๆ เหล่านี้รวมทั้งสิ้น 120 ท่าน ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรปจะร่วมแบ่งปันทักษะความรู้และประสบการณ์ Jacques Lapouge, พณฯ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย; Fabian Forni ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และ Thomas Baude กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชมโครงการ พี เอช พี ที (PHPT) และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันศุกร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ในโอกาสนี้ได้ร่วมหารือกับ ศาสตราจารย์ ดร. สาคร พรประเสริฐ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Gonzague Jourdain ทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ พี เอช พี ที
หน่วยงานวิจัยระหว่างประเทศ UMI 174 – PHPT นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) และ Institut de recherche pour le développement (IRD) ประเทศฝรั่งเศส
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของ PHPT คือการออกแบบและทดสอบวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาการป้องกันและการรักษาการติดเชื้อต่างๆ และเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งซึ่งเป็นโรคที่เป็นปัญหาใหม่ที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการวิจัยสำคัญที่ดำเนินการโดย PHPT ได้รวมถึงการติดเชื้อเอช ไอ วี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เชื้อไวรัสฮิวแมนแป๊บปิโลม่า (HPV) และวัณโรค และได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยความร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถาบันต่างๆ ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ HeBOOC: หลักสูตรการอบรมออนไลน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการตับอักเสบบี
เนื่องในวันตับอักเสบโลก ในวันที่ 28 กรกฏาคม นี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งชาติฝรั่งเศส (the French National Research Institute for Sustainable Development, IRD) และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มเปิดตัวหลักสูตรการอบรมออนไลน์ใหม่สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ เพื่อเรียนรู้หรือเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี
HeBOOC เป็นหลักสูตรการอบรมออนไลน์ด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ที่ https://www.hebooc.org/?lang=TH ![]()
ผลของโครงการวิจัย iTAP ที่ดำเนินการโดยโครงการ PHPT และโรงพยาบาลในเครือข่ายของโครงการ (โรงพยาบาลรัฐ 17 แห่ง) ได้เพิ่มความน่าสนใจให้กับการนำวิธีการใหม่ไปใช้ป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาสู่ทารก ซึ่งผลของการวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561
|