คุณอยู่ที่: หน้าแรก / การวิจัย / การวิจัยทางคลีนิค / การศึกษาพยาธิกำเนิด / การศึกษาที่เสร็จสิ้นแล้ว / การศึกษา Pharmacogenomics of ARVs
|
เภสัชพันธุศาสตร์ของยาต้านไวรัสชนิดต่างๆ (Pharmacogenomics of ARVs)
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยร่วมกับ รศ.วสันต์ จันทราทิตย์ (W. Chantratita), นายแพทย์ สุรัคเมธ มหาศิริมงคล (S. Mahasirimongkol) และ นส.สรนันท์ จันทรางสุ (S. Chantarangsu, นักศึกษาปริญญาเอก) มหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสบนสายนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างทางกายภาพ (single nucleotide polymorphisms, SNPs) และชุดของอัลลีลบนโครโมโซม (haplotypes) ของเอนไซม์ CYP2B6, CYP3A4 และ ABCB1กับระดับความเข้มข้นของยาเนวิราพีนในพลาสมาของหญิงไทยที่เคยได้รับยาเนวิราพีน ทั้งนี้มีรายงานพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมในเอนไซม์ CYP2B6 มีผลต่อค่าการขจัดยาออกจากร่างกาย (clearance) ในการรักษาด้วยการรับประทานยาเนวิราพีนเป็นเวลายาวนาน แต่ยังไม่มีการศึกษาค่าพื้นที่ใต้กราฟระหว่างความเข้มข้นของยาในพลาสมากับเวลา (AUC) ของยาเนวิราพีนในหญิงที่ได้รับยาเนวิราพีนหนึ่งครั้งระหว่างคลอด อย่างไรก็ตาม พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของเอนไซม์ CYP2B6 มีผลต่อระดับความเข้มข้นของยาเนวิราพีนภายหลังคลอด โดยในกรณีที่ไม่พบอัลลีล TGATC บนโครโมโซมของเอนไซม์ CYP2B6 ส่งผลให้ ระดับยาเนวิราพีนยังคงอย่ในพลาสมาเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น (2-3 สัปดาห์) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอช ไอ วี ให้ดื้อต่อยา NNRTI ในกรณีที่แพทย์ได้เลือกให้การรักษาด้วยยาในกลุ่ม NNRTI ภายหลังคลอด และควรให้ยาต้านไวรัสเพิ่มเติมหลังคลอด เพื่อลดอัตราการดื้อต่อยาในกลุ่ม NNRTI ในกรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม NNRTI ภายหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นประโยชน์โดยเฉพาะกับผู้หญิงในกลุ่มนี้
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสบนสายนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างทางกายภาพ (single nucleotide polymorphisms, SNPs) และชุดของอัลลีลบนโครโมโซม (haplotypes) ของเอนไซม์ CYP2B6, CYP3A4 และ ABCB1กับระดับความเข้มข้นของยาเนวิราพีนในพลาสมาของหญิงไทยที่เคยได้รับยาเนวิราพีน ทั้งนี้มีรายงานพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมในเอนไซม์ CYP2B6 มีผลต่อค่าการขจัดยาออกจากร่างกาย (clearance) ในการรักษาด้วยการรับประทานยาเนวิราพีนเป็นเวลายาวนาน แต่ยังไม่มีการศึกษาค่าพื้นที่ใต้กราฟระหว่างความเข้มข้นของยาในพลาสมากับเวลา (AUC) ของยาเนวิราพีนในหญิงที่ได้รับยาเนวิราพีนหนึ่งครั้งระหว่างคลอด อย่างไรก็ตาม พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของเอนไซม์ CYP2B6 มีผลต่อระดับความเข้มข้นของยาเนวิราพีนภายหลังคลอด โดยในกรณีที่ไม่พบอัลลีล TGATC บนโครโมโซมของเอนไซม์ CYP2B6 ส่งผลให้ ระดับยาเนวิราพีนยังคงอย่ในพลาสมาเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น (2-3 สัปดาห์) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอช ไอ วี ให้ดื้อต่อยา NNRTI ในกรณีที่แพทย์ได้เลือกให้การรักษาด้วยยาในกลุ่ม NNRTI ภายหลังคลอด และควรให้ยาต้านไวรัสเพิ่มเติมหลังคลอด เพื่อลดอัตราการดื้อต่อยาในกลุ่ม NNRTI ในกรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยาในกลุ่ม NNRTI ภายหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นประโยชน์โดยเฉพาะกับผู้หญิงในกลุ่มนี้